|
Written by

 วันนั้นได้ฟังพี่วรรษา  หัวหน้างาน ICT ศูนย์อนามัยที่ 10 เล่าเรื่อง การป้องกันความเสียหายกับระบบ IT  

 พี่วรรษาเน้นว่า  สิ่งแรกที่ต้องทำ คือทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญ  ความจำเป็นของระบบ IT เพราะเชื่อมั่นว่าเมื่อทุกคนเข้าใจ  ความเสี่ยงต่างๆของระบบ IT ก็จะเกิดขึ้นน้อย  หรือ แทบไม่เกิดขึ้นเลย   ซึ่งผู้เขียนเองก็เชื่อตามนั้น   เพราะปัจจุบันระบบ IT เป็นอีกปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวันที่เราแทบจะขาดไม่ได้ไปซะแล้ว พี่วรรษาเริ่มด้วยคำถามแรก  คือ...

 

 


และคำถามต่อมา  คือ..


เพื่อให้ได้คำตอบของคำถามข้อสุดท้าย คือ.....


พี่วรรษาบอกว่า ถ้าเราสามารถตอบคำถามทั้ง 3 ข้อนั้นได้  ก็ไม่ยากเลย  ที่ทีมงาน IT จะทำให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้  คือ   เป็นศูนย์สารสน เทศงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (Hybrid  Health  Information  Center  10) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
       แล้วในส่วนของคำตอบข้อที่ 2   ในเรื่องที่เป็นปัญหาอุปสรรค  เราก็คงต้องดำเนินการแก้ไข  ตามแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ที่งาน IT วางแผนไว้  เพื่อให้สามารถตอบคำถามข้อที่ 3 ได้  
วันนั้นทีมงาน ITผลัดกันเล่าเรื่องความพยายาม   ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงในงานที่ตัวเองตัวเองรับผิดชอบอย่างไร
และวันนั้นทีม IT โชคดีที่มีผู้นำทางที่สามารถนำชาวศูนย์ทุกคนได้ดีที่สุด คือท่านผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10  เข้าไปร่วมฟังด้วย   ผอ.ยังกล่าวตบท้ายเรื่องเล่าว่า “ เรื่อง IT  เป็นเรื่องชั่งใจกันระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติ  เพราะเป็นการลงทุนที่มาก  ถ้าทำไม่ดี ไม่ตั้งใจก็จะเกิดผลเสียหายมาก   แต่ถ้าเราทำได้ดี  ไม่ประมาท ผลที่ได้จะเกิดประโยชน์เกินคุ้ม...”


วันนั้นกอล์ฟยกสุภาษิตที่ว่า  “ถอย 1 ก้าว มองเห็นหมื่นลี้”  เพื่อบอกว่า การทำงานให้สำเร็จนอกจากเราจะต้องมีความสุขกับงานแล้ว  เราต้องยอมกันบ้าง  ลองถอยดู  ฟังคนอื่นบ้าง  เพื่อเติมเต็มให้กันละกัน
ในมุมมองของกอล์ฟที่มองผู้ใช้ IT เป็นเหมือนคนขับรถ  ผู้เขียนคิดว่าถ้าเราทุกคนต่างก็ขับรถโดยใช้ถนนสายนั้นที่ IT สร้างให้     ถ้าบางครั้งเรารู้จักเบรครถให้ช้าลงบ้าง  ชะลอบ้าง  หลบบ้าง เพื่อแบ่งปันเส้นทางให้กับคนอื่นๆ   นอกจากเราและเพื่อนร่วมทางทุกคนจะขับรถได้ราบรื่นไม่มีอุบัติเหตุ   ไม่มีการกระทบ กระทั่งกันแล้วเรายังสามารถถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยและพร้อมๆกันด้วย   
จริงไหมคะ ???